SAN Storage คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อจัดเก็บข้อมูลขององค์กร

SAN Storage คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อจัดเก็บข้อมูลขององค์กร

ปัจจุบัน การจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมากที่อยู่ภายในองค์กรกลายเป็นสิ่งที่นักธุรกิจไม่สามารถมองข้ามได้ การเลือกใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูลจึงเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานในกระบวนการต่าง ๆ และ SAN (Storage Area Network) คือโซลูชันระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเครือข่ายที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพ ความเร็ว และความเสถียรในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างยอดเยี่ยม

บทความนี้ Bhatara Progress จะพาคุณไปรู้จักกับ SAN Storage อย่างละเอียด พร้อมทั้งเจาะลึกถึงข้อดีและการประยุกต์ใช้งานในภาคธุรกิจ

SAN Storage คือ

SAN Storage คืออะไร? มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร?

SAN หรือ Storage Area Network คือระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่เชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรง โดยไม่ผ่านระบบเครือข่ายทั่วไป ทำให้มีความสามารถด้านการถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็วและปลอดภัย

เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ไปจนถึงการใช้งานข้อมูลใน Data Center ที่มีความเสถียร รวดเร็ว และต่อเนื่อง ผ่านการทำงานร่วมกับโซลูชันสำรองข้อมูลขั้นสูง อย่าง Veeam Backup เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึง ยกระดับความปลอดภัย รองรับการขยายตัวอย่างยืดหยุ่น และช่วยให้องค์กรมั่นใจถึงการใช้งานข้อมูลในทุกช่วงเวลา

4 องค์ประกอบสำคัญของ SAN Storage

  1. Storage Devices

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage Devices) ส่วนประกอบหลักของ SAN ที่ติดตั้งภายใน Data Center เพื่อจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถทำงานร่วมกับระบบสำรองข้อมูลระดับองค์กรได้อย่างราบรื่น เพื่อช่วยให้การจัดเก็บและกู้คืนข้อมูลมีความเสถียร ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด

  1. Network Infrastructure

โครงสร้างเครือข่าย (Network Infrastructure) เปรียบเสมือนเส้นเลือดที่เชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในระบบ SAN โดยใช้เทคโนโลยีความเร็วสูง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูลปริมาณมากอย่างรวดเร็ว ป้องกันความเสียหายเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง และยังทำให้การใช้งานโซลูชันสำรองข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้นอีกด้วย

  1. Servers

เซิร์ฟเวอร์ (Servers) หน่วยประมวลผลหลักใน SAN ที่ทำหน้าที่เรียกใช้และจัดการข้อมูลจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล สามารถแบ่งทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่น และรองรับการดำเนินงานที่มีความเร็วสูง เช่น การประมวลผลฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ หรือการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์สำรองข้อมูล เพื่อสร้างความมั่นใจด้านการสำรองและกู้คืนข้อมูล

  1. SAN Management Software

ซอฟต์แวร์บริหารจัดการ SAN (SAN Management Software) คือเครื่องมือสำคัญในการควบคุม ดูแล และตรวจสอบการทำงานของระบบ SAN ทั้งหมด เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถมอนิเตอร์การทำงาน ใช้งานพื้นที่จัดเก็บและตั้งค่าการสำรองข้อมูลอัตโนมัติผ่านระบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

การทำงานของ SAN Storage เพื่อการจัดเก็บข้อมูล

SAN Storage มีการทำงานแบ่งเป็น 3 ชั้นหลัก เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และจัดสรรทรัพยากรข้อมูล ได้แก่ 

  1. ชั้น Host (Host Layer)

ชั้น Host (Host Layer) ชั้นเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ปลายทาง เพื่อร้องขอและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในองค์กร โดยเซิร์ฟเวอร์มีทำหน้าที่ส่งคำสั่งผ่านเครือข่าย SAN ไปยังอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ช่วยให้ระบบสามารถทำงานแบบเรียลไทม์ได้อย่างราบรื่น

  1. ชั้น Fabric (Fabric Layer)

ชั้น Fabric (Fabric Layer) ชั้นโครงสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลด้วยระบบที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล จัดเส้นทางการเข้าถึง บริหาร Traffic ข้อมูล เพื่อให้ระบบ SAN สามารถตอบสนองต่อคำสั่งจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและเสถียร

  1. ชั้นจัดเก็บข้อมูล (Storage Layer)

ชั้นจัดเก็บข้อมูล (Storage Layer) คือชั้นที่มีหน้าที่ในการบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลแบบถาวรแบบ RAID ด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่สามารถรองรับการใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการใช้งาน SAN Storage ในองค์กร

SAN Storage คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับกระบวนการทำงานภายในองค์กรด้วยข้อดีหลากหลายด้าน เช่น

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล ด้วยความสามารถด้านการถ่ายโอนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพทำให้การเข้าถึงและประมวลผลข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว
  • รองรับการขยายตัวของข้อมูลองค์กร SAN สามารถเพิ่มอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหรือเซิร์ฟเวอร์ได้ตามความต้องการ โดยไม่กระทบต่อระบบปฏิบัติการเดิมขององค์กร
  • เสริมความปลอดภัยด้าน Cyber Security ผ่านการทำงานร่วมกับโซลูชันสำรองข้อมูลระดับองค์กร ช่วยป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ และลดความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลสำคัญจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
  • ลดต้นทุนการดูแลรักษาระบบในระยะยาว ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง ลดต้นทุนการดูแลรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในระยะยาวได้
  • ยกระดับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการรองรับข้อมูลจำนวนมากจากระบบ ERP และ MES ที่มีการบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
SAN Storage ในองค์กร

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของ SAN และ NAS

SANNAS
การใช้งานหลักมีการจัดเก็บข้อมูลระดับบล็อก จึงเหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานสูงการจัดเก็บข้อมูลระดับไฟล์ จึงเหมาะสำหรับการแชร์ไฟล์ระหว่างแผนกต่าง ๆ ภายในองค์กร
ประสิทธิภาพ (Speed)มีประสิทธิภาพการทำงานสูง เนื่องจากใช้เครือข่ายมีความรวดเร็วสูงสามารถดำเนินงานได้ในระดับปานกลาง ขึ้นอยู่กับความเร็วของเครือข่ายที่เชื่อมต่อ
ความซับซ้อนด้านการจัดการมีความซับซ้อนด้านการจัดการสูง จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งและดูแลรักษาการดูแลรักษาไม่ซับซ้อน สามารถติดตั้งและจัดการได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับ SAN Storage
ต้นทุนใช้ต้นทุนสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะและเครือข่ายที่มีความเร็วสูงมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากสามารถใช้เครือข่ายเดิมที่ในองค์กร เพื่อการใช้งาน NAS Storage ได้

ตัวอย่างการใช้งานระบบ SAN Storage เพื่อการจัดการข้อมูลในองค์กร

ระบบ SAN Storage เหมาะสำหรับการใช้งานในองค์กรขนาดกลางและใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นในการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมาก และต้องการความเสถียรและความเร็วสูง เช่น

  • องค์กรด้านการเงินและธนาคาร ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลธุรกรรมสำคัญจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้ SAN Storage เพื่อเพิ่มความเร็วในการประมวลผลและยกระดับความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูล
  • หน่วยงานด้านการแพทย์ ซึ่งมีการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมาก และจำเป็นต้องใช้ความรวดเร็วในการเข้าถึง เพื่อให้บุคลากรสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที
  • ศูนย์ Data Center ขนาดใหญ่ องค์กรไอทีและผู้ให้บริการ Cloud ต้องการ SAN Storage สำหรับรองรับ Workload ที่มีความซับซ้อนและต้องการการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วและมีความเสถียร
การทำงานระบบ SAN Storage

เลือกติดตั้ง SAN Storage ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ กับ Bhatara Progress

SAN Storage โซลูชันการจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กรที่รวดเร็ว เสถียร และยืดหยุ่น ช่วยรองรับการทำงานของธุรกิจในยุคที่ข้อมูลมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจดำเนินงานด้านต่าง ๆ การเลือกใช้ SAN Storage ที่เหมาะสมจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันในตลาดดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Bhatara Progress เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบโซลูชันเพื่อการบริหารจัดการองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ พร้อมให้คำปรึกษา ออกแบบ และติดตั้ง ระบบ SAN Storage เพื่อรองรับการทำงานร่วมกับโซลูชันระดับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น VMware, Veeam Backup, Microsoft Copilot, หรือ Dynamics 365 Business Central เพื่อช่วยให้ยกระดับการทำงานที่มีประสิทธิภาพในองค์กรของคุณ

ปรึกษาภัทรโปรเกส

คำถามที่พบบ่อย

  1. SAN แตกต่างจาก NAS อย่างไร?

SAN (Storage Area Network) ระบบจัดเก็บข้อมูลระดับบล็อกที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ผ่านเครือข่ายที่มีความเร็วสูง ส่วน NAS (Network Attached Storage) เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลระดับไฟล์ที่เชื่อมต่อผ่าน Ethernet เพื่อการใช้งานทั่วไป

  1. SAN มีต้นทุนในการติดตั้งและบำรุงรักษาเท่าไร?

ต้นทุนของ SAN อาจมีราคาสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ และซอฟต์แวร์เพื่อการจัดการ แต่ในระยะยาว SAN เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดต้นทุนการจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพ และรองรับการขยายตัวของธุรกิจได้ดีกว่า

  1. SAN Storage เหมาะกับการใช้งานประเภทใดมากที่สุด?

SAN เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องการการเข้าถึงข้อมูลแบบรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง เช่น การจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นสูง การสำรองข้อมูล หรือการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ

ติดต่อเราได้ที่ Contact Us 

หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง 

โทร: 02 732 2090

Email: marketing@bhatarapro.com

LINE: @bhataraprogress