
NAS คือโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายที่ปลอดภัย ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ ช่วยยกระดับทั้งการจัดเก็บข้อมูลและการสื่อสารภายในองค์กรอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เมื่อข้อมูลกลายเป็นหนึ่งในทรัพยากรสำคัญที่สุดขององค์กรและธุรกิจ การจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยข้อมูลจึงกลายเป็นกลยุทธ์ที่จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพราะข้อมูลที่สูญหายหรือรั่วไหลเพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ชื่อเสียง และรายได้ของธุรกิจได้อย่างไม่คาดคิด ดังนั้นการลงทุนกับเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยและยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรไม่ควรมองข้าม
NAS (Network Attached Storage) โซลูชันเพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานผ่านเครือข่าย จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการไฟล์ได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ด้วยการรองรับการทำงานร่วมกันจากหลายอุปกรณ์ได้จากทุกที่ พร้อมฟังก์ชันที่ช่วยลดภาระของเซิร์ฟเวอร์หลัก และทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้แบบเรียลไทม์และช่วยป้องกันข้อมูลจากภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

NAS คืออะไร และทำไมสำคัญต่อความปลอดภัยของข้อมูล
NAS (Network Attached Storage) คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อให้คนสามารถเข้าถึงไฟล์และข้อมูลได้พร้อมกันแบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์หลักขององค์กร ด้วยฟังก์ชันการตั้งค่าการเข้ารหัสข้อมูล กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเฉพาะบุคคล ติดตั้งระบบ Firewall และสร้างระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติ NAS จึงกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันการโจมตีด้วย Ransomware การรั่วไหลของข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้องค์กรสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
4 ส่วนประกอบสำคัญของ NAS
NAS ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายส่วนที่ทำงานร่วมกันเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
- CPU
CPU ทำหน้าที่เปรียบเสมือนหน่วยประมวลผลหลักที่ช่วยตอบสนองต่อคำสั่งของผู้ใช้งาน ทั้งการเขียนและอ่านข้อมูล การจัดการผู้ใช้ และการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมากพร้อม ๆ กัน
- เครือข่าย
เครือข่าย (Network) ส่วนเชื่อมต่อระหว่างงค์กรและพอร์ต LAN หรือ Wi-Fi โดยทำงานร่วมกับ Access Point เพื่อกระจายสัญญาณและทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา
- พื้นที่จัดเก็บข้อมูล
NAS ประกอบไปด้วยช่องใส่ฮาร์ดดิสก์ (HDD/SSD) เพื่อรองรับ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ที่รองรับระบบป้องกันความปลอดภัย และสามารถเชื่อมต่อกับ SAN (Storage Area Network) หรือทำงานร่วมกับ Data Center เพื่อขยายขีดความสามารถในการจัดเก็บและสำรองข้อมูลขององค์กร
- ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือส่วนติดต่อแบบซอฟต์แวร์ระหว่างฮาร์ดแวร์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและผู้ใช้ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถจัดการไฟล์ กำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน และตรวจสอบสถานะระบบได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

จุดเด่นและฟังก์ชันของ NAS ที่คุณควรเลือกใช้
NAS ไม่ได้เป็นเพียงฮาร์ดดิสก์ที่ช่วยเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่ยังเป็นเครื่องมือที่มีฟังก์ชันเพื่อช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
- การตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้งาน พร้อมรับรองความปลอดภัยของข้อมูลผ่านการกำหนดระดับการเข้าถึงโฟลเดอร์ต่าง ๆ ภายในระบบขององค์กร
- การสำรองข้อมูล NAS รองรับระบบ RAID ที่สามารถตั้งค่าการสำรองข้อมูลแบบอัตโนมัติไปยัง NAS ตัวอื่น และเชื่อมต่อกับระบบสำรองภายนอก เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหายจากความผิดพลาดของอุปกรณ์
- การเข้าถึงระยะไกล สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากภายนอกองค์กรผ่าน VPN ที่ปลอดภัย และรองรับการเชื่อมต่อกับบริการคลาวด์ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานระหว่างทีมมีความสะดวกมากขึ้น
- การใช้งานแอปพลิเคชันเสริมอื่น ๆ เช่น แอปสตรีมวิดีโอ ระบบจัดการเอกสาร หรือระบบกล้องวงจรปิด ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์ภายในองค์กร
NAS แตกต่างจากเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ อย่างไร ?
เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ แล้วนั้น NAS คือเครื่องมือที่มีความโดดเด่นด้านการใช้งานที่ง่ายดาย เหมาะกับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์เฉพาะด้านหรือระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนมากสักเท่าไร อีกทั้งยังสามารถเพิ่มความจุ และสามารถควบคุมและตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน Dashboard และกราฟิกที่เข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เชิงเทคนิคสูง
ข้อจำกัดที่คุณควรรู้ก่อนใช้งานระบบ NAS
ถึงแม้ว่า NAS จะประกอบด้วยข้อดีมากมาย แต่ระบบจัดเก็บข้อมูลนี้ก็มีข้อจำกัดที่คุณควรพิจารณา เพื่อการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมกับความต้องการขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น
- ความเร็วในการรับส่งข้อมูล NAS อาจมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำกว่าระบบจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานผ่าน Wi-Fi ทำให้อาจเกิดความล่าช้า มีปริมาณการรับส่งข้อมูลไม่เพียงพอ และไม่สามารถใช้งานหลายคนพร้อมกันได้
- ความปลอดภัย หากไม่มีการตั้งค่าระบบรักษาความปลอดภัย อาจทำให้ NAS กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ซึ่งเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์จากภายนอกองค์กร
- ข้อจำกัดในการขยายตัว NAS บางรุ่นออกแบบมาสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง และไม่รองรับการขยายระบบจัดเก็บข้อมูลในระดับองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นคุณจึงควรตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ให้ดีก่อน
- การจัดการข้อมูลสำรอง หากไม่ตั้งค่าการสำรองข้อมูลที่ถูกต้อง เมื่อมีข้อผิดพลาดใด ๆ อาจนำไปสู่การสูญหายของข้อมูล ซึ่งสร้างผลกระทบต่อธุรกิจของคุณอย่างแน่นอน
- การดูแลรักษาและการอัปเดตระบบ จำเป็นต้องใช้ความรู้พื้นฐานในการบริหาร NAS มิเช่นนั้นก็อาจทำให้ระบบทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้

ติดตั้งโซลูชัน NAS จาก Bhatara Progress ช่วยยกระดับความปลอดภัยข้อมูล
NAS (Network Attached Storage) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อการทำงานผ่านเครือข่าย เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงและบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพจากทุกที่ทุกเวลา ด้วยฟังก์ชันการทำงานที่รองรับการสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลในองค์กร ทั้งการเข้ารหัสข้อมูล การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน ระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติ การใช้งานร่วมกับระบบคลาวด์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ
Bhatara Progress ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT Infrastructure ที่พร้อมให้คำปรึกษา ออกแบบ และติดตั้งระบบ NAS เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยด้านข้อมูลในองค์กร และเรายังมีโซลูชันด้าน IT สำหรับการทำธุรกิจแบบครบวงจร เช่น Veeam Backup, Microsoft Copilot หรือ Dynamics 365 Business Central ที่ช่วยให้คุณสามารถยกระดับการทำงานภายในองค์กร
คำถามที่พบบ่อย
- NAS แตกต่างจากระบบจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นอย่างไร ?
NAS สามารถใช้งานได้ง่ายกว่าระบบจัดเก็บข้อมูลแบบอื่น ๆ เพราะไม่จำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์เฉพาะ และสามารถแชร์ข้อมูลได้ทันทีโดยผ่านเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว
- NAS สามารถป้องกันการโจมตี Ransomware ได้หรือไม่ ?
NAS ไม่ได้มีฟังก์ชันสำหรับการป้องกัน Ransomware โดยตรง แต่คุณป้องกันความเสียหายได้ด้วยการตั้งค่าอย่างเหมาะสม และลดผลกระทบด้วยการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
- NAS เหมาะสำหรับการใช้งานภายในองค์กรแบบใด ?
ด้วยข้อจำกัดด้านการขยายตัว และความเร็วในการรับส่งข้อมูล ทำให้ NAS จึงเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานในองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กที่ต้องการโซลูชันที่ประหยัดและบริหารจัดการง่าย ๆ
ติดต่อเราได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร: 02 732 2090
Email: marketing@bhatarapro.com
LINE: @bhataraprogress