
แห่งจึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และหลักการ ESG (Environmental, Social และ Governance) คือแนวคิดสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
ESG คือ อะไร? มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร?
ESG ย่อมาจาก Environmental, Social และ Governance คือกรอบแนวคิดการดำเนินงานขององค์กรในสามมิติที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัล (Digital Transformation) ขององค์กร ทั้งช่วยลดความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากร เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์

วางรากฐานธุรกิจให้มั่นคงและพร้อมต่อยอดในอนาคต ติดต่อเรา
ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับเมื่อปรับใช้แนวคิด ESG
- องค์กรมีคุณภาพ การนำแนวคิด ESG มาประยุกต์ใช้ คือแนวทางที่จะช่วยสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้องค์กร ด้วยการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และสามารถรับมือกับความเสี่ยงหรือความท้าทายต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- เพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ ดึงดูดลูกค้าและนักลงทุน ทั้งในแง่ของราคาหุ้น ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือในตลาด เพราะนักลงทุนยุคใหม่มักให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ยั่งยืน มีศักยภาพในการเติบโต และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโลก
- เพิ่มกำไร ลดต้นทุน การปรับใช้แนวคิด ESG คือแนวทางที่ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน
- พัฒนาศักยภาพพนักงาน โดยเฉพาะมิติด้านสังคม ที่มีส่วนช่วยในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เพิ่มความพึงพอใจและความจงรักภักดีของพนักงาน ซึ่งย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น
- การดำเนินการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานทดแทน และการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบหลักของ ESG คืออะไรบ้าง?
ESG คือ แนวคิดที่ผสมผสานองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน เพื่อช่วยยกระดับการทำงานและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ได้แก่
E – Environmental
E – Environmental หรือ มิติด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการดำเนินการทางธุรกิจ ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น
- การจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์กรต้องประเมินและควบคุมผลกระทบที่เกิดจากการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การปล่อยมลพิษ ไปจนถึงการจัดการของเสียต่าง ๆ
- การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากปัญหาภาวะโลกร้อน
- การใช้พลังงานทดแทน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือพลังงานจากน้ำ เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมลภาวะต่าง ๆ
- การจัดการของเสีย ผ่านการนำหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) มาใช้ การพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ระบบ Supply Chain Management และ WMS (Warehouse Management System) เพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานและลดของเสียในกระบวนการทุกขั้นตอน

ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วย Total Business Solutions ของเรา คลิก
S – Social
S – Social หรือมิติด้านสังคม ของ ESG คือกระบวนการที่มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน ลูกค้า และชุมชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
- ความรับผิดชอบต่อพนักงาน สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นธรรม ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม และส่งเสริมการพัฒนาทักษะของพนักงาน เพื่อรักษาสุขภาพจิตใจของบุคลากรในองค์กร
- ความปลอดภัยในการทำงาน กำหนดมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด เพื่อลดอุบัติเหตุในการทำงาน และดูแลสุขภาพของพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม
- การพัฒนาชุมชน ด้วยการดำเนินการที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เช่น ลดการปล่อยของเสียในชุมชน สนับสนุนการศึกษา และสร้างโอกาสให้กับประชาชนด้วยการจ้างงานในพื้นที่
- ความหลากหลายและการรวมกลุ่ม ได้แก่ การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ การจ้างงานที่ไม่เลือกปฏิบัติ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ด้วยการใช้ระบบ Dynamics 365 Human Resources เพื่อการจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
G- Governance
G- Governance หรือมิติด้านธรรมาภิบาลใน ESG คือรากฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระ แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน และมีระบบการตรวจสอบความโปร่งใสภายในที่เข้มแข็ง
- ความโปร่งใสในการดำเนินงาน องค์กรควรเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา
- การบริหารความเสี่ยง การมีระบบที่ช่วยบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมและสามารถระบุ ประเมิน หรือจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีคุณธรรม ด้วยการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ที่มีความปลอดภัยสูง
รู้จักกับ ESG Risks ข้อจำกัดที่องค์กรต้องเผชิญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การนำหลักการ ESG มาปรับใช้ในองค์กร ย่อมมีความท้าทายและข้อจำกัดหรือ ESG Risks หลายด้านที่องค์กรควรทำความเข้าใจ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
- ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
- การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
- การจัดการของเสียและวัสดุอันตรายที่ไม่ถูกต้อง
- ความเสี่ยงด้านสังคม
- สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- การเลือกปฏิบัติที่ไม่คำนึงถึงความเท่าเทียม
- ความขัดแย้งกับชุมชน
- ความล้มเหลวในการรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
- การประท้วงจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาล
- การทุจริตภายในองค์กร
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การรายงานข้อมูลที่ไม่โปร่งใส
- โครงสร้างบอร์ดบริหารที่ไม่สมดุลหรือไม่เป็นอิสระ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการและโซลูชันด้านระบบ IT ที่นี่
Bhatara Progress ให้บริการโลยีเพื่อการจัดการ ESG อย่างยั่งยืน
การนำเทคโนโลยี HCI (Hyper-Converged Infrastructure) มาใช้ในการบริหารธุรกิจตามแนวคิด ESG คือกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถติดตามผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้การดำเนินงานมีความแม่นยำสูง พร้อมลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ESG
Bhatara Progress เราเป็นผู้นำด้านการให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการจัดการธุรกิจที่ครอบคลุมทุกมิติของ ESG ด้วยโซลูชันที่ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการได้อย่างความยั่งยืน เช่น Microsoft 365, Dynamics 365 Finance และ LS Retail

คำถามที่พบบ่อย
- หลักการ ESG มีอะไรบ้าง?
ESG คือ แนวคิดการดำเนินงานในธุรกิจที่ครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) ด้านสังคม (Social) และด้านธรรมาภิบาล (Governance)
- มาตรฐาน ESG คืออะไร?
มาตรฐาน ESG คือเกณฑ์ที่ใช้วัดและประเมินการดำเนินธุรกิจขององค์กรใน 3 มิติ เพื่อตรวจสอบการดำเนินการทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โปร่งใส และประเมินความรับผิดชอบต่อพนักงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม
- SDGs กับ ESG ต่างกันอย่างไร?
SDGs (Sustainable Development Goals) คือ เป้าหมายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยข้อปฏิบัติ 17 ข้อของสหประชาชาติ เพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาระดับโลก 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ส่วน ESG (Environmental, Social, Governance) คือกรอบการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่นักลงทุนและองค์กรใช้วัดผลกระทบและความเสี่ยงใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
- CSR กับ ESG ต่างกันยังไง?
CSR (Corporate Social Responsibility) คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ที่อยู่ในรูปแบบกิจกรรมหรือโครงการช่วยเหลือสังคม ส่วน ESG (Environmental, Social, Governance) คือ =แนวทางการดำเนินธุรกิจ 3 ด้าน ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์กร
ติดต่อเราได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร: 02 732 2090
Email: marketing@bhatarapro.com
LINE: @bhataraprogress
แหล่งอ้างอิง
PLANET. (13 กรกฎาคม 2566). Understanding ESG Risks and their Impact on Businesses. https://aplanet.org/resources/esg-risks/
Investopedia. (30 กรกฎาคม 2567). What Is ESG Investing?. ttps://www.investopedia.com/terms/e/environmental-social-and-governance-esg-criteria.asp
Lucy Pérez, Dame Vivian Hunt, Hamid Samandari, Robin Nuttall, and Donatela Bellone. (10 สิงหาคม 2565). How to make ESG real. McKinsey. https://www.mckinsey.com/capabilities/sustainability/our-insights/how-to-make-esg-real