[สรุป] Supply Chain คืออะไร? และสำคัญอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจ

[สรุป] Supply Chain คืออะไร? และสำคัญอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจ

ในยุคที่ธุรกิจต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือด การบริหารจัดการ Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ กลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจ เพราะ Supply Chain คือกระบวนการที่เชื่อมโยงการทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การกระจายสินค้า จนถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นการจัดการ Supply Chain จึงเข้ามาช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน พร้อมทั้งสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดในเวลาเดียวกัน

Supply Chain คืออะไร?

Supply Chain คือ เครือข่ายของบุคคล องค์กร ทรัพยากร กิจกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตและซื้อขายสินค้าและวัตถุดิบ ตั้งแต่ผู้จัดหาวัตถุดิบไปจนถึงผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงลำดับของกระบวนการที่เปรียบเสมือนห่วงโซ่ที่เชื่อมต่อกัน โดยครอบคลุมทั้งการนำวัตถุดิบมาแปรรูป การขนส่ง การจัดเก็บ และการจัดจำหน่าย ซึ่งมีความซับซ้อนและต้องการการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

Supply Chain คือ

ประโยชน์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจ

การบริหารจัดการ Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพคือขั้นตอนที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยข้อดีต่าง ๆ เช่น

  • เสริมการแข่งขันในห่วงโซ่อุปทาน เพราะการบริหาร Supply Chain อย่างมีศักยภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที และสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว
  • เพิ่มความยั่งยืนของธุรกิจ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์และพันธมิตรทางธุรกิจจะช่วยให้องค์กรมีฐานรากที่แข็งแกร่ง ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
  • เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน ระบบ Supply Chain ที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น จะทำให้องค์กรสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
  • ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การวางแผนและใช้งานทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จะช่วยให้ลดความสิ้นเปลืองและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรในองค์กร ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การผลิต การจัดเก็บ และการขนส่ง
  • ติดตามกระบวนการทำงาน การใช้ Dashboard และ Power BI ในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลด้าน Supply Chain จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตทางธุรกิจ
  • บริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารห่วงโซ่อุปทานด้วยระบบ WMS (Warehouse Management System) ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบ และลดสินค้าค้างสต๊อก

ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วย Total Business Solutions ของเรา คลิก

ความแตกต่างระหว่าง Supply Chain กับ Value Chain

ถึงแม้ว่า Supply Chain และ Value Chain จะมีแนวคิดการทำงานที่เกี่ยวข้องกัน แต่มีจุดแตกต่างกัน ดังนี้

Supply Chain

Supply Chain คือการบริหารกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการจากผู้จัดหาวัตถุดิบไปยังผู้บริโภค รวมถึงการจัดการความสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งซัพพลายเออร์ แผนกจัดเก็บ และบริษัทขนส่งสินค้า

Value Chain

Value Chain คือกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อหาแนวทางการสร้างมูลค่าและการปรับปรุง ซึ่งจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านการเพิ่มมูลค่าในแต่ละขั้นตอน

5 องค์ประกอบหลักของ Supply Chain คืออะไรบ้าง?

Supply Chain แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบหลักที่เชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้

  • ผู้สนับสนุนด้านวัตถุดิบ (Suppliers) จุดเริ่มต้นของระบบ Supply Chain ทำหน้าที่จัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่จำเป็นในกระบวนการผลิต ธุรกิจจำเป็นต้องเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพและต้นทุนของสินค้า
  • ผู้ผลิต (Manufacturers) รับผิดชอบในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยครอบคลุมทั้งการออกแบบ การควบคุมคุณภาพ และการจัดการกระบวนการผลิต
  • ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers) ตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก เพื่อช่วยกระจายสินค้าปริมาณมากไปยังร้านค้าต่าง ๆ
  • ผู้ค้าปลีก (Retailers) ผู้เกี่ยวข้องสุดท้ายก่อนถึงมือผู้บริโภค มีหน้าที่ขายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้าปลายทาง
  • ผู้บริโภค (Customer) จุดปลายทางของห่วงโซ่อุปทาน โดยมีความพึงพอใจและความต้องการเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการทั้งหมดใน Supply Chain
Smart Supply Chain คือ

ประเภทของ Supply Chain ที่ควรรู้จัก

  1. Internal Supply Chain

Internal Supply Chain คือการจัดการห่วงโซ่อุปทานภายในองค์กรตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การควบคุมคุณภาพ จนถึงการส่งมอบสินค้า สามารถควบคุมการทำงานในทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่องค์กรจำเป็นต้องลงทุนทรัพยากรและเม็ดเงินมาก

  1. Food Supply Chain

Food Supply Chain คือการบริหารห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่ม มีความซับซ้อนมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ เนื่องจากต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายส่วน ทั้งความปลอดภัย อายุการเก็บรักษา และข้อกำหนดด้านสุขอนามัย

  1. Smart Supply Chain

Smart Supply Chain คือการบริหารที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทั้งระบบปฏิบัติการเพื่อการจัดการอย่าง ERP, IoT หรือ AI และเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง NAS เพื่อยกระดับกระบวนการต่าง ๆ ใน Supply Chain

  1. Logistics and Supply Chain

Logistics and Supply Chain คือ การผสมผสานการจัดการโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเน้นประสิทธิภาพการดำเนินการขนส่ง การจัดเก็บ และการกระจายสินค้าภายในห่วงโซ่อุปทาน

วางรากฐานธุรกิจให้มั่นคงและพร้อมต่อยอดในอนาคต ติดต่อเรา

เคล็ดลับการบริหาร Supply Chain ในองค์กร

Supply Chain Management (SCM) คือการจัดการและควบคุมการไหลของสินค้า ข้อมูล และเงินทุนที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า และลูกค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนธุรกิจ โดยอาศัยกลยุทธ์และเทคนิคที่เหมาะสม เช่น

  • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างทุกฝ่ายใน Supply Chain ด้วยการอัปเดตข้อมูลข่าวสารและการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน จะช่วยลดความผิดพลาดในการดำเนินการทุกขั้นตอน
  • ตอบสนองความต้องการลูกค้า การเข้าใจและคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า คือเป้าหมายสำคัญของการบริหาร Supply Chain ที่ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการตลาดได้อย่างตรงจุดมากที่สุด
  • ลดจำนวนซัพพลายเออร์ การมีซัพพลายเออร์หลักที่น่าเชื่อถือในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมสร้างความสัมพันธ์และผลประโยชน์ร่วมกัน จะช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการและเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับองค์กรได้ง่ายมากขึ้น
  • ใช้บริการจากภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าพนักงานในองค์กร ในงานที่ไม่จำเป็น จะช่วยทั้งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ไปพร้อม ๆ กับการลดต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาดในการดำเนินงาน
  • ให้บริการขนส่งโดยตรง และใช้กลยุทธ์การขนส่งตามแนวคิด ‘ส่งถี่ ส่งตรง ส่งน้อย’ เพื่อลดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก ระยะเวลาการรอคอย และความผิดพลาด รวมถึงเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์อย่างยั่งยืน
Logistics and Supply Chain คือ

Supply Chain กับการปรับใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม

การเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ คืออีกหนึ่งวิธีการจัดการ Supply Chain ในทุกอุตสาหกรรมที่ได้ผลอย่างที่คุณอาจคาดไม่ถึง ผ่านการใช้ Server ที่มีประสิทธิภาพสูง และติดตั้งเครือข่ายที่เสถียรเพื่อรองรับการทำงานด้วยเทคโนโลยี เช่น

  • ระบบติดตามการขนส่ง การใช้ระบบ GPS, IoT และ AI ในการติดตามและจัดการเส้นทางการขนส่ง เพื่อลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค
  • แพลตฟอร์มออนไลน์ บน E-Commerce Platforms และ B2B Marketplaces ทำให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์จุดเด่นสินค้า และตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างตรงจุด
  • ซอฟต์แวร์เพื่อการจัดเก็บข้อมูล ด้วยระบบ Data Center และ Cloud Computing จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจำนวนมากที่เชื่อมโยงกับ Supply Chain ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
  • เทคโนโลยีการผลิต เช่น Automation, Robotics และ Machine Learning จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน
  • การสื่อสารจัดการลูกค้า ด้วย CRM Systems คือส่วนสำคัญที่ช่วยในการเก็บข้อมูลความต้องการ จัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า และการติดตามสถานะคำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการและโซลูชันด้านระบบ IT ที่นี่

บริการธุรกิจด้วย Supply Chain Solutions จาก Bhatara Progress

การใช้งานโซลูชันด้านการบริหารจัดการ Supply Chain คือเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้ เพราะห่วงโซ่อุปทานคือ กระบวนการที่เชื่อมโยงการทำงานทุกภาคส่วน ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการจัดส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค

บริษัท Bhatara Progress ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการปรึกษาและติดตั้งระบบเพื่อการจัดการกระบวนการต่าง ๆ ในธุรกิจ เช่น Microsoft Dynamics 365 Supply Chain Management, Dynamics 365 Finance และ Dynamics 365 Human Resources เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ติดตั้ง Microsoft Dynamics 365 เพื่อการจัดการ Supply Chain

คำถามที่พบบ่อย

  1. ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หมายถึงอะไร?

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ การบริหารจัดการและประสานงานผู้เกี่ยวข้องที่เชื่อมโยงกันในกระบวนซื้อขายสินค้า ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การกระจายสินค้า และการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการไปยังผู้บริโภค

  1. 5 กระบวนการใน Supply Chain คืออะไรบ้าง?

กระบวนการบริหารจัดการ Supply Chain ขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดหา (Sourcing) การผลิต (Manufacturing) การจัดส่ง (Delivering) และการรับคืน (Returning)

  1. งาน Supply Chain ทำอะไรบ้าง?

Supply Chain Manager คือ การวางแผน ควบคุม และปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ใน Supply Chain เช่น การจัดหาซัพพลายเออร์ การจัดการสินค้าคงคลัง การประสานงานการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการติดตามการส่งมอบสินค้า

ติดต่อเราได้ที่ Contact Us 

หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง 

โทร: 02 732 2090

Email: marketing@bhatarapro.com

LINE: @bhataraprogress

แหล่งอ้างอิง

McKinsey. (17 สิงหาคม 2565). What is supply chain?. https://www.mckinsey.com/featured-insights/mckinsey-explainers/what-is-supply-chain

GEP. (9 พฤษภาคม 2566). Supply Chain Vs. Value Chain: Why the Difference Matters. Modern Manufacturing. https://www.gep.com/blog/technology/supply-chain-vs-value-chain

L’équipe Manutan. (21 มีนาคม 2567). What is the definition, the role and challenges of the supply chain for companies?. Manutan Group. https://www.manutan.com/blog/en/glossary/supply-chain-definition-role-and-challenges